Sunday, July 29, 2012

ความหลัง






ภาพจากทะเลสาปโตบา

ความในใจของคนบางคนที่มีถึงคนที่เธออยากบอกให้รู้
มีอะไรหลายอย่างที่อยากบอกให้รู้
ถ้าเธอยังนึกถึง

อดีตมันไม่ได้เจ็บปวดเสมอไป
เพราะถึงมีมันก็คงจะน้อยกว่าปัจจุบัน

ฉันไม่อยากรั้งให้เธอกลับมา
เพียงแต่ซักนิดกับการติดต่อ
ซักนิดกับการแวะไป
ฉันมีสิ่งที่เธอต้องการอยูที่นั้น
ใต้ร่มสีแดง โรงเรียนสีขาวแห่งนี้

Wednesday, July 25, 2012

รอมฎอนกับความล้มเหลว





ความล้มเหลวสำคัญของรอมฎอนคือ เรายังไม่สามารถเข้าถึงจิตวิญญานแห่งรอมฎอนได้
เราทำได้แค่อดอาหาร ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่กลับชดเชย มากกว่าปกติในอีกเวลาหนึ่ง


ถ้าเป็นดังนี้ รอมฎอนเราได้แค่ทำให้พ้นจากบาป แต่สร้างผลกระทบสำคัญต่อสุขภาพ หรือจิตวิญญาณแห่งรอมฎอน

...
เทศกาลอาหารคือข่าวดีๆ สำหรับคนอดอยากที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก ไม่ละเว้นแม้กระทั้ง คนบางคนในละเเวกใกล้เคียงเรา หลังบ้านเรา หรือท้ายหมู่บ้านเรา
แต่ทุกวันนี้ เทศกาลอาหาร คือช่วงเวลาที่เฝ้ารอสำหรับ คนที่พอกิน มีอันจะกิน หรือมีกินอย่างล้นเหลือ

จงมาทำให้รอมฎอนนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของข่าวดีๆ สำหรับคนที่ ไม่มีกิน หรือคนที่หลังจากข้าวมื้อนี้แล้ว มื้อต่อไป ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะได้กินอีก

Tuesday, July 24, 2012

รอมฎอน




รอมฎอนได้ย่างกรายเข้าอยู่กับเราอีกครั้งหนึ่งแล้ว...
หนึ่งเดือนถัดจากนี้ เราต้องกินให้น้อยลง แป่งปันให้มากขึ้น 
ลดความเห็นแก่ตัว เพื่อเห็นแก่พี่น้อง เพื่อนมนุษย์มากขึ้น
เดือนนี้ไม่ไช่เทศกาลอาหาร แต่เป็นเดือนแห่งการอดกลั้น

แต่ถ้าไม่เป็นดั่งนี้ เดือนนี้ก็จะเป็นเดือนแห่งการโกหกครั้งใหญ่สุด
ใหญ่สุดเพราะเราอ้างนามของพระเจ้า ในการอด แต่เรากลับบริโภคแบบไม่ยั่งในช่วงเวลาที่อนุมัต
เรานอนมากขึ้นในช่วงเวลาที่ต้องทำงาน แต่ใช้เวลาแบบสูญเปล่า ในยามคำคืน
คนยากจนไร้คนดูแล คนมั้งมีกลับเรียกความสนใจด้วยการแต่งบ้าน และเรียกคนกินอย่างหรูหรา
สุขภาพเสื่อมทรุด เพราะทั้งไขมัน น้ำตาล ฯลฯ ถูกเพิ่มเข้าสู่ร่างกาย ทั่งๆ ที่บอกว่า "อด"
....

Monday, July 23, 2012

ก้าวสู่ความเป็นจริงแห่งสังคมในอุดมคติ

มูฮัมหมัด ยูนุส  ผู้ก่อตั้ง Grameen Bank (ธนาคารคนยาก) 


ในขณะที่สังคมเรากำลังคลั่งไคล้ในเทคโนโลยีใหม่ ๆ คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนต ถูกยกระดับเป็นเสมือนปัจจัยที่ 5 ของชีวิต. การศึกษาเรื่อง IT ถูกถือเป็นความสำเร็จสำคัญของคนในสังคมเรา. แต่ในขณะเดียวกันสังคมตะวันตกกลับคิดกันในเรื่อง “โลกยุคหลัง IT”


มีหนังสืออย่างน้อยอยู่ 2 เล่ม ที่เขียนโดยนักอนาคตวิทยาชาวตะวันตก ซึ่งเป็นผลมาจากการทำการศึกษาสังคมยุคหลังเทคโนโลยี่สารสนเทศ เล่มหนึ่งมีชื่อว่า High Tech High Touch ที่เขียนโดยนักอนาคตวิทยาผู้มีชื่อเสียงคือนายจอร์น ไนชบิทท์ และอีกเล่มหนึ่ง ก็เขียนโดยนักอนาคตวิทยาชาวเดนมาร์ก ชื่อรอฟท์ เจนเซ่น ในชื่อ The Dream Society ท่านผู้นี้มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ The Copenhagen Institute for Future Studies และเป็นสมาชิกของ “World Future Society”

สิ่งที่น่าสนใจที่ปรากฏชัดจากหนังสือทั้งสองเล่มก็คือ ปัจจุบันนี้โลกตะวันตกกำลังอยู่ในภาวะเคว้งคว้างในด้านจิตใจ ซึ่งก็คงเป็นผลมาจากการพัฒนาในด้านวัตถุอย่างขนานใหญ่ การเชิดชูกันในเรื่องของเงินตราเหนือกว่าคุณค่าด้านจิตใจ ทุกๆ กิจกรรมในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง เรื่องทางเศรษฐกิจ หรือแม้แต่กิจกรรมทางสังคมประจำวัน จะถูกผูกโยงกับเรื่องทางวัตถุไปเสียทั้งหมด. แนวคิดเซคคูลาร์ และวัตถุนิยม อันเป็นเสาหลักของการพัฒนาโลกตะวันตกมาตั้งแต่ยุคฟื้นฟูวิทยาการ (Renaissance) ซึ่งก็ได้สร้างความสำเร็จอย่างยิ่งยวดในด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ดังที่เราได้รับรู้กัน.

แต่หลักคิดที่มุ่งเฉพาะด้านวัตถุดังที่กล่าวมา ก็เป็นที่ชัดเจนว่าไม่สอดคล้องกับชีวิตจริงหรือฟิตเราะห์ของมนุษย์ที่อัลเลาะห์ได้สร้างมาที่มีองค์ประกอบทั้งทางด้านจิตใจ (รูฮียะห์) และ ร่างกาย (ญิสมานียะห์) ซึ่งเป็นการยืนยันว่าชีวิตมนุษย์จำเป็นที่จะต้องมีความสอดคล้องกันกับทั้งสองส่วน จะมุ่งเน้นเฉพาะแต่ในด้านใดด้านหนึ่งนั้นย่อมมิได้.

สิ่งที่เกิดขึ้นในโลกตะวันตกตอนนี้ ก็คือสิ่งที่เรียกว่า “Materially sound, spiritually vacuum” แต่วิสัยของมนุษย์ผู้ชอบแสวงหา ย่อมไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกเขาจะแสวงหาสิ่งใด ๆ เพื่อเสริมเข้าไปในส่วนที่ขาดหายไปสำหรับชีวิตตนเอง ด้วยเหตุนี้ ไนชบิทท์ จึงเห็นว่าสังคมอเมริกาเริ่มที่จะเข้าหาศาสนา หลังจากที่พวกเขาได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ ในหนังสือ High Tech, High Touch ไนชบิทท์ ได้เขียนว่า “America is in the midst of a religious revival. We are seeking and welcoming a religious or spiritual context in nearly all aspects of our lives – on television and film , in the workplace, in hospitals, in books, in advertisements, on campuses, in mega churches”

พลังของศาสนา
ทัศนะของไนชบิทท์ ดังที่กล่าวมา อาจจะเป็นที่กังขาสำหรับบางท่านที่กำลังคลั้งใคล้กับวัฒนธรรมตะวันตก และสำหรับผู้ที่คิดว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่คือทุกอย่างสำหรับชีวิต โดยคิดว่าการที่เราจะเป็นบุคคลที่มีเกียรติ เชิดหน้าชูตา และสร้างความยิ่งใหญ่ทัดเทียมกับประเทศตะวันตก ก็ต้องด้วยการทำตัวให้เหมือนกับตะวันตก วัฒนธรรมของเขาเป็นอย่างไร เราก็ต้องให้เป็นเหมือนกับเขา เขากินอย่างไร เราก็ต้องกินอย่างนั้น...

ผู้เขียนคิดว่าไม่ผิดหรอก หากเราจะเลียนแบบตะวันตกบ้างในงานพัฒนาและงานวิชาการ แต่เราจะต้องมีความเชื่อมั่นว่า เราเองก็มีสิ่งดีๆ มากมาย ในวัฒนธรรม ในทุนทางสังคม สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ เรามีศาสนา ที่คอยขัดเกลาสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม และสร้างความเจริญทางสังคมมากมาย เรารับของเขามา เพื่อเป็นแรงเสริมสำหรับสิ่งที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ไช่ว่ารับวิทยาการจากเขา โดยที่ต้องทิ้งสิ่งที่มีค่าของเราเองไป.

ที่เราหวั่นวิตกอย่างยิ่งก็คือ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จากตะวันตก เกิดขึ้นมาโดยการคิด และการสร้าง เมื่อเราตามเขาไป เราก็ต้องคิดในเรื่องของการสร้างเช่นเดียวกัน ไม่ไช่การตามอย่างหลับหูหลับตา โดยลืมความคิดที่จะสร้างสรรค์ขึ้นมาบ้าง การตามที่เป็นอยู่ของเราส่วนใหญ่ ก็มักจะตามในสิ่งที่สนองอารมณ์ ไม่ไช่สนองเพื่องานพัฒนาแต่อย่างใด จึงทำให้เกิดสิ่งโสโครกทางสังคมมากมายดังที่เป็นอยู่ เรารู้สึกเจ็บปวดอย่างยิ่งกับอาการเจ็บป่วยทางสังคมที่เกิดขึ้น
งานรับน้องใหม่ในบางสถาบันการศึกษาดังที่เป็นภาพออกมา ก็เป็นส่วนหนึ่งของความเละเทะทางสังคม ไม่ละเว้น แม้แต่ในสถาบันการศึกษาชื่อดังของประเทศ (ที่เป็นภาพออกมาก็ขนาดนั้น แล้วที่ทำกันอย่างลับๆล่ะจะขนาดใหน ?) ผู้เขียนเคยได้ยินมาว่า งานรับน้องแบบนั้นเคยมีในประเทศอื่น แต่ตอนนี้ประเทศอื่นๆ เขายกเลิกหมดแล้ว แล้วทำไมเรายังคงทำอยู่ ?
ความอ่อนแอทางสังคมที่เป็นอยู่ก็เป็นผลกระทบโดยตรง จากการพัฒนาเฉพาะส่วนโดยละเลยการให้คุณค่าทางด้านจิตใจ ซึ่งผลสุดท้ายชีวิตของคนๆ หนึ่งก็ต้องเคว้งคว้างหาหลักยึดอะไรไม่ได้
ด้วยเหตุนี้ สุดท้ายแล้วตะวันตกก็ต้องเข้าหาศาสนา เพื่อเป็นยาใจในการบำบัดอาการเจ็บป่วยทางสังคม สิ่งนี้เราจะพบได้ในหนังสือ The Dream Society ที่เขียนโดย นายรอล์ฟ เจนเซ่น ...

“ความคิดเรื่อง “Dream Society” อันจะเป็นสิ่งที่มาทดแทน “Information Society” จะเกิดขึ้นก็ภายใต้ความคิดที่ว่า แนวคิดที่เอาแต่เรื่องวิทยาศาสตร์อย่างเดียว เริ่มจะลดความเชื่อถือลงทุกขณะสำหรับโลกอนาคต. มีหลักฐานหนึ่งที่เป็นการยืนยันอย่างดีเลยก็คือ ความสำเร็จของเครือข่ายอินเตอร์เนต อันเป็นเสมือนผลิตภัณฑ์หนึ่งจาก “Information Society”. ในฤดูใบไม้ร่วง ปี 1996 นิตยสารไทม์ ใช้ Search Engine ของ Alta vista ก็ได้พบว่า Bill Gates ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ มี 46,000 เนื้อหาอ้างอิง แต่พอค้นหา "พระเจ้า" กลับมีอยู่สูงถึง 410,000 เนื้อหาอ้างอิง และคำว่า "Jesus" มี 146,000 เนื้อหาอ้างอิง. อินเตอร์เนตถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีสำคัญของมนุษย์ในการค้นหา และพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในเรื่องทางจิตใจกันได้ทั่วโลก โดยไม่มีกำแพงแห่งภูมิศาสตร์เข้ามาขวางกั้น. ดังนั้น “Dream Society” ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ภายใต้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเช่นนี้. บางทีในศตวรรษที่ 21 นี้ อาจจะเป็นศตวรรษแห่งการพัฒนาจิตใจ ฟื้นฟูเรื่องจิตวิญญาณ เรื่องเกี่ยวกับศาสนา หลังจากที่ศตวรรษที่ผ่านมาโลกได้ก้าวหน้าอย่างยิ่งยวดในเรื่องทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่."

สรุปแล้ว การพัฒนาต่างๆ จะต้องมีความสมดุลกันในระหว่างเรื่องทางวัตถุและเรื่องทางจิตใจ โลกตะวันตกที่ได้พัฒนาความเจริญในด้านวัตถุโดยละเลยคุณค่าทางด้านจิตใจ ต้องประสบกับความหายนะทางสังคมที่รุนแรง และสุดท้ายพวกเขาก็เริ่มที่จะเข้าหาศาสนา. จากทัศนะของ 2 นักอนาคตวิทยาดังที่กล่าวมา ก็สามารถยืนยันกับเราได้ว่าเรื่องทางศาสนาจะเป็นเรื่องหลักสำหรับโลกในศตวรรษที่ 21 นี้ จะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับการตื่นตัวและเข้าใจในความเป็นไปต่างๆ ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่ผ่านมา. ข้าพเจ้าจึงขอเน้นปิดท้ายว่าเรื่องทางศาสนาจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องให้พี่น้องผองเพื่อนเราได้ตระหนักควบคู่กับการศึกษา,เรียนรู้ และพัฒนาในด้านอื่นๆ. ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์ โดยอาศัยข้อมูลจากการเขียนโดยไม่มีอคติใดๆ งานเขียนที่มุ่งเน้นในการเสนอข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา เราก็จะเห็นว่าอิสลามได้สร้างความเจริญให้กับโลกนี้อย่างเหลือคณานับ เป็นความเจริญที่ควบคู่กับศีลธรรมอันดีงาม เพียงแต่บางช่วงเวลาผู้นำมุสลิมเองไม่ปฎิบัตตามหลักการศาสนา มัวหลงระเริงกับวัตถุ มุ่งแต่แสวงหาอำนาจ มัวเมาในกิเลศตัญหา สุดท้ายเขาก็ต้องรับบาลาจากอัลเลาะห์.

จึงน่าจะถึงเวลาแล้ว ที่เหล่าชนผู้ศรัทธาทั้งหลาย จะได้เข้าหาศาสนาอย่างจริงจัง ปฎิบัติตามหลักศาสนาอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ (ไม่ไช่เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง) เพราะตะวันตกเริ่มตระหนักในความผิดพลาดของตนเองแล้ว บางทีอาจจะถึงเวลาแล้วสำหรับชาวตะวันออกอย่างเราในการทำอะไรๆ เป็นแบบอย่างบ้างในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม.

Tuesday, July 17, 2012

สายใยรัก (2)




แด่พี่น้องของฉัน ผู้ผ่านมาผูกพัน มาพบกัน มารักกัน แล้วจากไกล

1. ขอให้พี่น้องโปรดอ่าน ใส่ใจ ใคร่ครวญ และทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่เราได้มีการสื่อสารกันให้มากๆๆ
จงจำไว้ว่า ไม่มีอะไรที่เราไม่สามารถพูดคุยกันได้

2.  ตลอดหลายปีที่ีผ่านมา พวกเราทุกคน ตั้งตนบนพื้นฐานของการให้โอกาส ให้เกียรติ ให้ความสำคัญ
ต่อทุกๆ คนเรื่อยมา และเชื่อว่าต่อไป  (แม้เราจะทำผิดพลาดบ่อยครั้ง)

3. จากข้อ 2 ถ้าสิ่งนั้นได้สร้างความชินชา ซะจนเป็นความละเลย และก่อให้เกิดความนิ่งเฉย คนที่เสียโอกาสคือตัวเราเอง
เพราะเราไม่อาจจะรู้ได้ว่าวันพรุ่งนี้เป็นอย่างไร วันพรุ่งนี้ ใครจะอยู่ หรือใครจะไป
วันพรุ่งนี้ จะมีปรากฎการณ์ใดๆ ที่ทำให้ต้องปรับเปลียนทุกอย่างไป ไม่เหมือนวันนี้อีกแล้ว
ถ้าเป็นดังนี้ วันพรุ่งนี้ จะมีใครให้โอกาสแก่เราอีกไหม ?

4. จากข้อ 1  ความเป็นนักพัฒนา คืองานของเรา ที่ต้องเกี่ยวข้องกับทุกบริบทในสังคม และคนรอบข้าง ถ้าเราไม่ใส่ใจต่อเขา เขาก็อาจจะไม่ใส่ใจต่อเราเช่นเดียวกัน
หนึ่งในข้อบ่งชี้ถึงความใส่ใจ ก็คือการสื่อสารที่ต้องมีถึงกันและกันอย่างต่อเนื่อง
5. สุดท้าย อะไรที่ขัดข้องใจใดๆ ต่อใคร ควรจะถาม หรือสื่อสารตรงๆ ต่อคนผู้นั้น ปกติคนทำงานที่ทุ่มเทต่องาน
เขาก็จะจ้ำจี้ต่องาน (ในแบบและเทคนิคของแต่ละคน) การจำจี้ จึงไม่ไช่เหตุผลในการทำให้เกิดความรังเกียจ หรือชิงชังกัน
แต่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เรารักเขามากกว่า
รักทุกคน และอยากให้พี่น้องรักกัน 

Daud