Wednesday, July 13, 2016

สามีที่ดี


สามีที่ดีไม่ไช่คนที่ขยันทำงาน หาเงินเลี้ยงดูครอบครัว หากแต่ยังหมายถึงผู้ชายที่เก่งและขยันทำภารกิจในบ้าน รวมทั้งในห้องนอน

ยากนะชีวิตของคนที่เป็นผู้ชาย ด้วยใจแห่งความเป็น "ชายที่แท้จริง"

แต่ชีวิต "ผู้ชายแอบแฝง" มุ่งเอาเปรียบ ตักตวงผลประโยชน์ส่วนตน มุ่งหาความสุขส่วนตัว คนยากหนักหนาที่จะให้ความสุขแก่ใคร

โอ้ เหล่าผู้ชายทั้งหลาย ถึงคราวที่เราต้องปฎิรูปตนเอง เปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดี สู่ความเป็นผู้นำ สู่ความเป็นแบบอย่าง สู่ทางแห่งรัก ทางแห่งสวรรค์ ทางแห่งองค์ผู้อภิบาล...

Tuesday, July 12, 2016

ขมขื่น นิกาห์ ถุงยาง

                ขมขื่น นิกาห์  ถุงยาง

Friday, July 08, 2016

รอมฎอนที่จากลาไป


รอมฎอนได้ไปจากเราแล้ว...
และเราก็ไม่รู้ว่าจะได้พบอีกหรือไม่

จากนี้ไปเราต้องเพิ่มพูนความดีให้มากขึ้นกว่าเดิม

เรายังต้องกินให้น้อยลงกว่าเดิม  แป่งปันให้มากขึ้น

ลดความเห็นแก่ตัว  เพื่อเห็นแก่พี่น้อง เพื่อนมนุษย์มากขึ้น

รอมฎอนไม่ไช่เทศกาลอาหาร  แต่เป็นเดือนแห่งการอดกลั้น

และเราจะอดกลั้นกับอารมณ์ ความรู้สึก และความปราถนาที่เกินขอบเขตทั้งหลาย

แต่ถ้าไม่เป็นดั่งนี้  จากช่วงเวลาที่ผ่านมา กับวันถัดจากนี้ไป ก็จะเป็นเดือนแห่งการโกหกครั้งใหญ่สุด

ใหญ่สุดเพราะเราอ้างนามของพระเจ้า ในการอด แต่เรากลับบริโภคแบบไม่ยั่งในช่วงเวลาที่อนุมัต

เรานอนมากขึ้นในช่วงเวลาที่ต้องทำงาน  แต่ใช้เวลาแบบสูญเปล่า ในยามคำคืน

คนยากจนไร้คนดูแล  คนมั้งมีกลับเรียกความสนใจด้วยการแต่งบ้าน และเรียกคนกินอย่างหรูหรา

สุขภาพเสื่อมทรุด เพราะทั้งไขมัน น้ำตาล ฯลฯ ถูกเพิ่มเข้าสู่ร่างกาย ทั่งๆ ที่บอกว่า "อด"
....

Sunday, July 03, 2016

คุณค่าแห่งซะกาตฟิตเราะห์



ในทุกภาระกิจที่เราต้องทำถ้าสิ่งนั้นเป็นข้อบัญญัติ  ย่อมเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เฉกเช่นเดียวกับการจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ อย่างน้อยก็   5  ด้านต่อไปนี้

1.         เป็นการสร้างความอิ่มเอิบใจ  ให้กับผู้รับโดยเฉพาะต่อคนยากจนที่เราต้องใส่ใจเขาเป็นพิเศษ  ความสุขของเขาอาจพบได้ยากมากในชีวิต  สิ่งนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขามีความสุขใจได้ อย่างน้อย    ก็ในวันสำคัญนี้

2.         สร้างความบริสุทธิ์ต่อทรัพย์สินเฉกเช่นเดียวกับการถือศีลอดที่ผ่านมา ถ้าทำอย่างที่ถูกต้องย่อมเป็นการสร้างความบริสุทธิ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ  โดยเฉพาะในทางศาสนา  การสร้างความบริสุทธิ์ในทางทรัพย์สินก็โดยการจ่ายให้กับผู้ที่ควรรับ เป็นการลดความรู้สึกหวงแหน ความตระหนี่ถี่เหนี่ยว  ความรู้สึกที่มุ่งแก่ได้  ทดแทนด้วยความรัก ความอ่อนน้อมถ่อมตนที่เหล่าผู้ศรัทธาต้องมีให้กับเพื่อนมนุษย์

3.         เป็นการชำระล้างคนที่ถือศีลอด  จากความผิดบาป  อิบนุอับบาสได้กล่าวว่า   ท่านศาสดาได้วายิบในการจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ เพื่อเป็นการชำระล้างคนที่ถือศิลอดจากคำพูดที่สูญเปล่า  และคำพูดที่ไม่ดี  พร้อมทั้งการให้อาหารต่อผู้ยากไร้  (อาบูดาวุด )

4.         บ่งชี้ต่อระดับความศรัทธาต่อพระเจ้าเพราะถ้าเขาพร้อมที่จะถือศิลอด แต่ ละเลยหรือไม่ใส่ใจต่อการจ่ายซะกาตย่อมแสดงถึงความศรัทธาที่ยังเปราะบาง

5.         การจ่ายซะกาตถือเป็นจุดสุดยอดสำหรับภารกิจในเดือนรอมฎอน  ด้วยการแบ่งปันทรัพย์สินส่วนหนึ่งให้กับผู้อื่น  ถ้าเงินเพียงเล็กน้อยเขาไม่อาจจะจ่ายให้กับผู้อื่น  แล้วจะมีอะไรอีกเล่าที่สามารถจะแบ่งปันให้พี่น้องร่วมสังคมนี้ได้
     

ประมวลความรู้เกี่ยวกับซะกาตฟิตเราะห์


                มุสลิมทุกคนควรตระหนักในการจ่ายเงินหรือสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตให้กับผู้อื่น  สิ่งนี้มุสลิมส่วนใหญ่รู้   แต่ในการปฏิบัติทุกวันนี้เป็นอย่างไร  สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักการหรือไม่  คือสิ่งที่ต้องมาใคร่ครวญกัน อย่างน้อยก็ดังโจทย์ต่อไปนี้

โจทย์ที่  1  ซะกาตฟิฎเราะห์คืออะไร  และใครบ้างที่ต้องจ่าย
            ซะกาตด้านภาษาบ่งชี้ถึง การเจริญเติบโต งอกเงย เพิ่มพูน ขัดเกลาให้สะอาด และความประเสริฐ
                                                                                                                                                                            
            ส่วนคำว่า ฟิฏรฺ หรือฟิฏเราะฮฺ ด้านภาษาหมายถึง การเปิดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือทำให้แตกและแยกออก                                                                     

ซะกาตฟิฏเราะฮฺ หมายถึง การบริจาคทานที่ถูกกำหนดให้มุสลิมทุกคนต้องจ่าย เนื่องจากการสิ้นสุดของการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน เพื่อเป็นการขัดเกลาผู้ถือศีลอดให้สะอาดบริสุทธิ์จากความหลงลืมและการพูดที่โสมม


              ในอีกความหมายหนึ่ง ซะกาตฟิฏเราะฮฺ คือซะกาตแห่งตัวตนหรือซะกาตแห่งชีวิต  เพราะมุสลิมทุกคนต้องจ่าย  ทั้งชาย-หญิง  ทั้งเด็กแรกเกิดจนถึงคนแก่เฒ่า  หรือแม้แต่คนสติไม่สมประกอบ

             อาบีฮูรัยเราะห์ ได้กล่าว  ความว่า  ท่านศาสดาได้วายิบ  (บังคับ) ให้จ่ายซะกาตฟิฎเราะห์  ในเดือนรอมฎอนทั้งในหมู่ผู้เป็นไท เป็นทาส ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง  เด็กแรกเกิด คนแก่ คนรวยและคนจน ในบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย( อะห์มัด, บุคอรี และมุสลิม )

            ผู้ปกครอง/ คนที่อยู่ภายใต้การดูแลของเขา เป็นคนจ่าย  

           ท่านศาสดากล่าวว่า  จงจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ จากทุกคนที่เป็นผู้รับผิดชอบของท่านทั้งหลาย (บัยฮากี)

โจทย์ที่  2  ลูกบุญธรรม เด็กกำพร้า  ลูกเลี้ยง  ใครจ่ายให้  ?

              เป็นภาระและความรับผิดชอบของผู้ปกครอง / ผู้ดูแล ในที่นี้ก็หมายถึงญาติทางสายเลือด  หรือผู้รับผิดชอบโดยตรงต่อเด็ก ๆ  เหล่านั้น  ซึ่งก็คือ พ่อ ปู ลุง .

             กรณีลูกบุญธรรมที่ไม่พบญาติทางสายเลือด  ผู้รับผิดชอบในการเลี้ยงดู ซึ่งก็คือพ่อบุญธรรมที่จะต้องจ่ายให้

            กรณีเด็กกำพร้า  ถ้าไม่มีหรือไม่พบญาติทางสายเลือด  ผู้ดูแลก็ต้องรับภาระในการจ่ายให้  เช่น เดียวกับกรณีลูกเลี้ยง ถ้าไม่ปรากฏญาติทางสายเลือด พ่อเลี้ยงก็ต้องรับภาระในการจ่ายให้

               กรณีเด็กสามารถหารายได้ ได้ด้วยตัวเอง ก็ควรส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกในการจ่าย  แต่ภาระที่แท้จริงก็ยังเป็นของผู้ปกครอง  หรือผู้เป็นญาติเหนือขึ้นไปทางสายเลือด

โจทย์ที่ 3  ลูกสาวที่ทำงานมีรายได้ของตนเองยังคงเป็นภาระของผู้ปกครองหรือไม่  ?

               คนที่สามารถทำงานหาเงินได้ด้วยตัวเองไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย  เขาก็ควรจ่ายซะกาตเอง  และสามารถจ่ายซะกาตเพื่อพ่อแม่ได้ด้วย  ทั้งนี้ก็ต้องบอกให้พ่อแม่ได้รู้ด้วย

โจทย์ที่  4  ต้องจ่ายซะกาตเวลาไหน
              เริ่มต้นรอมฎอนก็สามารถจ่ายซะกาตได้  ดังที่ฮาดิษจากอูมัรที่ได้กล่าวว่า  ท่านศาสดาได้บังคับให้จ่ายซะกาตในเดือนรอมฎอน

               อย่างไรก็ตามก็มีข้อขัดแย้งทางความคิดของเหล่าผู้รู้ที่เกี่ยวกับเวลาที่วาญิบ อีหม่ามซาฟิอี  และ อีหม่ามมาลิก  เห็นว่า  เวลาที่ต้องจ่ายก็คือ  เวลาแสงอาทิตย์สุดท้ายของเดือนรอมฎอนได้สิ้นสุดลง  ในขณะที่อีหม่ามฮานีฟะห์ เห็นว่า  บังคับให้ต้องจ่ายหลังจากที่แสงแรกของเดือนเซาวาลได้ออกมา
   
               แต่เพื่อง่ายในการปฏิบัติ  นักการศาสนาส่วนหนึ่งได้แบ่งเวลาดังนี้
1.         สามารถจ่ายได้ทันทีหลังเข้าสู่รอมฎอน
2.         เวลาที่ดีที่สุดก็คือก่อนละหมาดอีดิลฟิฎรี
            3.  ไม่อนุญาตให้จ่ายซะกาตฟิฎเราะห์หลังจากเลยเวลาที่ถูกกำหนดไว้ หรือหลังจากละหมาดอีดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ผู้ใดจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ หลังละหมาดอีด จะถือว่าซะกาตที่ได้จ่ายไปนั้นเป็นซะกาตทั่วๆไป ไม่ใช่ซะกาตฟิฏเราะฮฺ                                                             
                             
โจทย์ที่  5  ถ้าลืมจ่ายล่ะจะต้องทำไง  ?
             การจ่ายซะกาตเป็นภาระสำคัญของมุสลิม  ในการรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งไม่ควรที่จะลืม  ผู้ที่ลืมมักจะเกิดจากการถ่วงเวลารอจ่ายในช่วงท้าย ๆ  ซึ่งก็มีผู้บอกว่าเป็นช่วงที่ดีที่สุด  ได้บุญมากที่สุด  ผมเห็นว่าการได้บุญ จะมากหรือน้อยเป็นเรื่องของอัลเลาะห์  ส่วนที่เป็นเรื่องของเราก็คือต้องจ่ายตามช่วง เวลาที่กำหนด

               คนที่ลืมเมื่อนึกขึ้นได้ก็ต้องรีบหาคนที่มีสิทธิรับและจ่ายให้ทันที  พร้อมทั้งขอเตาบัต  (ขอลุแก่โทษ ) พร้อมตั้งจิตให้มั่นว่าจะไม่ลงลืมกับภาระเช่นนี้อีก

โจทย์ที่  6  ถือศีลอดไม่ขาดแต่ไม่ยอมจ่ายซะกาต

               การถือศีลอดเป็นสิ่งที่ต้องทำ  (วาญิบ)  การจ่ายซะกาตเป็นสิ่งที่ต้องจ่ายเช่นกัน การละเลยสิ่งใดสิ่งหนึ่งถือเป็นบาป

               อิบนูอูมัรได้กล่าวว่า  ท่านศาสดาได้สั่งให้เราจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ก่อนที่ผู้คนจะออกมาละหมาด อีดิลฟิฎรี  (บูคอรีและมุสลิม)

               เหล่าผู้รู้ได้ให้ความเห็นว่าคนที่ตั้งใจไม่จ่าย   และไม่ถือเป็นวาญิบสำหรับตนเองเขาอาจจะตกอยู่ในฐานะกูฟูร / สิ้นสภาพ

โจทย์ที่    7     คนยากจนต้องจ่ายซะกาตด้วยหรือ  ?

              ซะกาตฟิฏเราะฮฺ ถูกบังคับสำหรับมุสลิมทุกคนไม่ว่าเขาจะอยู่ในฐานะใด  ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าเขาต้องมีอาหารเพียงพอในการรับประทานนับจากคืนอีด  (1 เชาวัล)  จนถึงสิ้นวันอีด   คนที่อยู่นอกเงื่อนไขนี้จะต้องจ่ายทุกคน

               แต่ก็มีบางทัศนะเห็นว่าคนยากจนที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ก็ด้วยเงินซะกาต  เขาไม่ต้องรับภาระในการจ่ายอีก  เพราะเงินที่เขามีก็เงินซะกาตนั้นเอง

โจทย์ที่  8  จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ด้วยเงินหรือด้วยข้าวสาร ?
               แต่เดิมซะกาตฟิฏเราะฮฺ คือการจ่ายด้วยอาหารหลัก  แต่ก็มีทัศนะบอกว่าจ่ายแทนด้วยเงินก็ได้  การจ่ายด้วยเงินก็เป็นการตัดสินใจของอูมัร อับดุลอาซิซ  ท่านได้บอกว่าการจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ สามารถทดแทนได้ด้วยสิ่งมีค่า  (เงิน)  ทุกวันนี้เงินถูกใช้เพื่อชำระหนี้ /เพื่อการแลกเปลี่ยน  อาหาร/ สิ่งของ  เงินจึงถือว่าสมควร

อย่างไรก็ตาม อุละมาอ์ส่วนใหญ่ (มัซฮับมาลิกีย์ ชาฟิอีย์ และฮัมบาลีย์)    ไม่อนุญาตให้จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ด้วยเงินแทนอาหาร และผู้ใดจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ด้วยเงิน ซะกาตฟิฏเราะฮฺ ของเขาจะไม่ถูกรับ เพราะไม่มีหลักฐานบ่งชี้ถึงการอนุญาต  
            ส่วนมัซฮับหะนะฟีย์ มีทัศนะว่าอนุญาตให้จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ด้วยเงิน

โจมย์ที่   9  ถ้าไม่จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ผลบุญจากการถือศีลอดถูกแขวน ?

               ท่านศาสดาได้กล่าวว่า  ศาสนกิจในเดือนรอมฎอน ถูกผูกไว้ระหว่างชั้นดินกับแผ่นฟ้า  และจะไม่ถูกนำไปสู่อัลเลาะห์  เว้นเสียแต่ด้วยซะกาตฟิฏเราะฮฺ ( อิบนูอาซากีร)

               แต่เหล่านักฮาดิษได้แสดงความกังขาต่อความถูกต้องของฮาดิษนี้  และแย้งกับฮาดิษอื่นที่ได้กำหนดอีบาดะห์เฉพาะต่าง    สำหรับเดือนรอมฎอน ผมเห็นว่าอีบาดะห์อะไรก็แล้วแต่เมื่อได้ถูกกระทำอย่างสมบูรณ์และครบถ้วน   ก็เป็นสิทธิของอัลเลาะห์ที่จะตอบรับหรือไม่  ?

โจทย์ที่   10  ซะกาตฟิฏเราะฮฺ ต้องจ่ายให้คนยากจนเท่านั้นหรือ
               เป็นความแตกต่างทางความคิด    (คิลาฟ)  บ้างก็เห็นว่าเฉพาะสำหรับคนยากจนคนอนาถา  (ฟากิร /มิสกิน ) แต่อีกส่วนก็เห็นว่าผู้มีสิทธิรับซะกาตทั้งแปดประเภทก็มีสิทธิรับซะกาตฟิฏเราะฮฺ เช่นกัน

               นอกจากนี้ก็ยังมีความเห็นว่า  สามารถจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ให้กับคนต่างศาสนิกก็ได้  (ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอิสลาม)  ในกรณีที่คนต่างศาสนิกนั้นมีฐานะยากจน

โจทย์ที่  11   จ่ายซะกาตฟิตเราะห์แทนที่ลูกจ้างที่ทำงานในบ้านเราได้หรือไม่

               ลูกจ้างไม่ใช่ภาระโดยตรงที่ต้องรับผิดชอบในการเลี้ยงดู  ลูกจ้างคือคนทำงานที่ได้ค่าจ้าง  ลูกจ้างต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ของตนเอง

              แต่ถ้านายจ้างประสงค์ที่จะจ่ายให้ก็ไม่ผิดแต่เพียงต้องบอกให้ทราบ  และต้องได้รับอนุญาตด้วย  เพราะไม่ใช่สิทธิของนายจ้างโดยตรง

โจทย์ที่  12    ลูกที่เกิดในคืนอีดิลฟิฎรีต้องจ่ายไหม่
              ไม่ต้องเพราะวันอีดหรือกลางคืนถือว่าสิ้นสุดรอมฎอนแล้ว

โจทย์ที่  13  หญิงตั้งท้องที่ครบกำหนดคลอดแล้ว แต่ยังไม่คลอดจนล่วงเลยวันที่  1  เชาวัล
               ในหนังสือ  ฮูกุมซะกาตของ    ดร. ยุชุฟ  ฎอร์ฎอวีย์  สรุปว่าไม่ต้องจ่ายเพระอิสลามไม่ได้สร้างภาระใดต่อลูกที่ยังอยู่ในท้องของมารดา

โจทย์ที่  14  ซะกาตฟิตเราะห์กับซะกาตทรัพย์สินจ่ายในช่วงเวลาเดียวกัน
                   ไม่ผิดใดๆ  หากแต่เป็นสิ่งที่ส่งเสริมควรกระทำอย่างยิ่ง  มีอาดิษรายงานจาก  อิบนู คูชัยมะห์  จากชัลมาล อัลฟารีชี ระบุว่า  ทุกอามัลทุกชนิดในเดือนรอมฎอน  จะได้รับผลตอบแทนถึง  70  เท่า


โจทย์ที่  15  ทำไหมบางคนต้องจ่ายซะกาตไม่เหมือนหรือไม่เท่ากับคนอื่น ๆ
               คนที่ใส่ใจและระมัดระวังในการประกอบภารกิจทางศาสนา  เขาจะคำนึงถึงความถูกต้องเป็นหลัก   ราคาข้าวสารแต่ละที่  หรือที่แต่ละคนได้บริโภคอาจต่างกัน  คนที่คำนึงถึงความถูกต้องที่สุด ย่อมคิดอย่างรอบคอบก่อนที่จะจ่ายไปจ่ายเท่าใด หรือจ่ายให้ใคร