Friday, November 11, 2016

มิห์รอบ ที่มีรัก


ละครและความบันเทิงสามารถสื่อถึงเนื้อหาได้เร็วที่สุด ละครที่สร้างสรรค์ ย่อมเกิดผลในแง่ที่สร้างสรรค์
Dalam Mihrab Cinta ที่เขียนโดยฮาบีบุรเราะห์มาน เอล ซีรอญี ศิษย์เก่าอัซฮาร์ เขียนได้ดีมาก น่าอ่าน น่าติดตาม

แต่ตัวแสดงหลักคนหนึ่ง ได้เปลี่ยนศาสนาไปแล้ว

Sunday, October 16, 2016

ผู้ชายเรียกร้องความสนใจมากกว่าผู้หญิง



ผลจากการศึกษาของ องค์การด้านสุขภาพของผู้บริโภค The Engage Mutual ได้ผลสรุปว่า 57 % ของผู้ชาย ต้องการความใส่ใจและการดูแลเป็นพิเศษ ยามใดที่เกิดการเจ็บป่วย
และมีผู้ชายถึง 2 ใน 3 คน ที่มักชอบบ่น และแสดงอาการคร่ำครวญ


ผู้ชายมักรู้สึกว่า แม้แต่การเป็นหวัด ก็ประหนึ่งคนเป็นไข้ที่ต้องได้รับการดูแลแล้ว ปวดหัวเล็กน้อย ก็เสมือนคนเป็นไมเกรน

ผู้ชายต้องการคนมาดูแล คนมาให้ความใส่ใจ เหมือนเด็กเล็ก แต่ในขณะเดียวกันเขากลับต้องการให้ภรรยาทำหน้าที่ในครัว เฉกเช่นปกติอีกด้วย

ผู้ทำการศึกษาเรื่องนี้ให้เหตุผลทางวิชาการเกี่ยวกับเรื่องข้างต้นว่า มีสาเหตุมาจาก ยีน MicroRNAs ที่มีส่วนเชื่อมโยงกับระบบสร้างภูมิคุ้มกัน ที่ออกมาจากโครโมโซมX

ผู้หญิงมักมีแรงต้านทานต่อการเจ็บปวด หรือการติดเชื้อ นั้นก็เพราะ มี สองโครโมโซมX ในขณะที่ผู้ชายมีเพียงหนึ่ง

ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติและนรีเวช มีความเห็นว่า สามีต้องการให้ภรรยาดูแลในยามเจ็บไข้ นั้นก็เพราะในช่วงวัย 20 ถึง 40 ปี ผู้ชายไม่ชอบไปหาหมอ

โดยทั่วไปผู้ชายมักเกี่ยงงอนเมื่อต้องไปพบหมอ ด้วยเหตุนี้เมื่อเกิดการเจ็บป่วย มักมีความกังวลมาก


ที่มา : babab.net

Friday, August 05, 2016

มุสลิมร่วมบูรณะวัดที่ถูกเผา

จากข่าวจลาจลจากเสียงอาซาน
ที่เกิดขึ้นเมื่อเช้ามืดของวันเสาร์ที่ผ่านมา (30/7/16) จนเกิดการเผ่าวัดจีนไปหลายหลัง เหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นที่ เมืองตันหยงบาลัย (สุมาตราอูตารา)

ล่าสุด มีมุสลิมจำนวนหนึ่ง ได้ร่วมฟื้นฟูสถานการณ์ โดยการไปร่วมซ่อมแซม ปัดกวาดทำความสะอาดให้กับวัดที่ถูกเผา

ในทางคดี ตำรวจสามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยเป็นมือเผาวัดจีนไปแล้ว 30 กว่าคน

ข่าวก่อนหน้านี้
https://facebook.com/groups/422133821263587?view=permalink&id=933731733437124

Thursday, August 04, 2016

คนที่มีเกียรติ

จงรู้เถิดว่า ....คนที่มีเกียรติที่สุดในหมู่พวกเรา หาไช่ เพราะคนที่รวยที่สุด

ไม่ไช่เพราะมีภาพลักษณ์ที่ดูดีกระฉับกระเฉง

ไม่ไช่เพราะเขาหล่อ หรือเธอสวย

หากแต่อยู่ที่ความรู้สึกรักและยำเกรงต่อองค์ผู้ทรงสร้าง.

ริสกีที่แสวงหาก็จะเกิดความง่ายดาย เพียงพอ

และเมื่อใดที่ถึงเวลาหาคนหมั้นหมายเคียงคู่ในชีวิต "ความยำเกรง" จะเป็นมาตรฐานขั้นสูงสุด สำหรับเขาหรือเธอคนนั้น

Daud Abd.Rahman

Wednesday, July 13, 2016

สามีที่ดี


สามีที่ดีไม่ไช่คนที่ขยันทำงาน หาเงินเลี้ยงดูครอบครัว หากแต่ยังหมายถึงผู้ชายที่เก่งและขยันทำภารกิจในบ้าน รวมทั้งในห้องนอน

ยากนะชีวิตของคนที่เป็นผู้ชาย ด้วยใจแห่งความเป็น "ชายที่แท้จริง"

แต่ชีวิต "ผู้ชายแอบแฝง" มุ่งเอาเปรียบ ตักตวงผลประโยชน์ส่วนตน มุ่งหาความสุขส่วนตัว คนยากหนักหนาที่จะให้ความสุขแก่ใคร

โอ้ เหล่าผู้ชายทั้งหลาย ถึงคราวที่เราต้องปฎิรูปตนเอง เปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดี สู่ความเป็นผู้นำ สู่ความเป็นแบบอย่าง สู่ทางแห่งรัก ทางแห่งสวรรค์ ทางแห่งองค์ผู้อภิบาล...

Tuesday, July 12, 2016

ขมขื่น นิกาห์ ถุงยาง

                ขมขื่น นิกาห์  ถุงยาง

Friday, July 08, 2016

รอมฎอนที่จากลาไป


รอมฎอนได้ไปจากเราแล้ว...
และเราก็ไม่รู้ว่าจะได้พบอีกหรือไม่

จากนี้ไปเราต้องเพิ่มพูนความดีให้มากขึ้นกว่าเดิม

เรายังต้องกินให้น้อยลงกว่าเดิม  แป่งปันให้มากขึ้น

ลดความเห็นแก่ตัว  เพื่อเห็นแก่พี่น้อง เพื่อนมนุษย์มากขึ้น

รอมฎอนไม่ไช่เทศกาลอาหาร  แต่เป็นเดือนแห่งการอดกลั้น

และเราจะอดกลั้นกับอารมณ์ ความรู้สึก และความปราถนาที่เกินขอบเขตทั้งหลาย

แต่ถ้าไม่เป็นดั่งนี้  จากช่วงเวลาที่ผ่านมา กับวันถัดจากนี้ไป ก็จะเป็นเดือนแห่งการโกหกครั้งใหญ่สุด

ใหญ่สุดเพราะเราอ้างนามของพระเจ้า ในการอด แต่เรากลับบริโภคแบบไม่ยั่งในช่วงเวลาที่อนุมัต

เรานอนมากขึ้นในช่วงเวลาที่ต้องทำงาน  แต่ใช้เวลาแบบสูญเปล่า ในยามคำคืน

คนยากจนไร้คนดูแล  คนมั้งมีกลับเรียกความสนใจด้วยการแต่งบ้าน และเรียกคนกินอย่างหรูหรา

สุขภาพเสื่อมทรุด เพราะทั้งไขมัน น้ำตาล ฯลฯ ถูกเพิ่มเข้าสู่ร่างกาย ทั่งๆ ที่บอกว่า "อด"
....

Sunday, July 03, 2016

คุณค่าแห่งซะกาตฟิตเราะห์



ในทุกภาระกิจที่เราต้องทำถ้าสิ่งนั้นเป็นข้อบัญญัติ  ย่อมเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เฉกเช่นเดียวกับการจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ อย่างน้อยก็   5  ด้านต่อไปนี้

1.         เป็นการสร้างความอิ่มเอิบใจ  ให้กับผู้รับโดยเฉพาะต่อคนยากจนที่เราต้องใส่ใจเขาเป็นพิเศษ  ความสุขของเขาอาจพบได้ยากมากในชีวิต  สิ่งนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขามีความสุขใจได้ อย่างน้อย    ก็ในวันสำคัญนี้

2.         สร้างความบริสุทธิ์ต่อทรัพย์สินเฉกเช่นเดียวกับการถือศีลอดที่ผ่านมา ถ้าทำอย่างที่ถูกต้องย่อมเป็นการสร้างความบริสุทธิ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ  โดยเฉพาะในทางศาสนา  การสร้างความบริสุทธิ์ในทางทรัพย์สินก็โดยการจ่ายให้กับผู้ที่ควรรับ เป็นการลดความรู้สึกหวงแหน ความตระหนี่ถี่เหนี่ยว  ความรู้สึกที่มุ่งแก่ได้  ทดแทนด้วยความรัก ความอ่อนน้อมถ่อมตนที่เหล่าผู้ศรัทธาต้องมีให้กับเพื่อนมนุษย์

3.         เป็นการชำระล้างคนที่ถือศีลอด  จากความผิดบาป  อิบนุอับบาสได้กล่าวว่า   ท่านศาสดาได้วายิบในการจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ เพื่อเป็นการชำระล้างคนที่ถือศิลอดจากคำพูดที่สูญเปล่า  และคำพูดที่ไม่ดี  พร้อมทั้งการให้อาหารต่อผู้ยากไร้  (อาบูดาวุด )

4.         บ่งชี้ต่อระดับความศรัทธาต่อพระเจ้าเพราะถ้าเขาพร้อมที่จะถือศิลอด แต่ ละเลยหรือไม่ใส่ใจต่อการจ่ายซะกาตย่อมแสดงถึงความศรัทธาที่ยังเปราะบาง

5.         การจ่ายซะกาตถือเป็นจุดสุดยอดสำหรับภารกิจในเดือนรอมฎอน  ด้วยการแบ่งปันทรัพย์สินส่วนหนึ่งให้กับผู้อื่น  ถ้าเงินเพียงเล็กน้อยเขาไม่อาจจะจ่ายให้กับผู้อื่น  แล้วจะมีอะไรอีกเล่าที่สามารถจะแบ่งปันให้พี่น้องร่วมสังคมนี้ได้
     

ประมวลความรู้เกี่ยวกับซะกาตฟิตเราะห์


                มุสลิมทุกคนควรตระหนักในการจ่ายเงินหรือสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตให้กับผู้อื่น  สิ่งนี้มุสลิมส่วนใหญ่รู้   แต่ในการปฏิบัติทุกวันนี้เป็นอย่างไร  สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักการหรือไม่  คือสิ่งที่ต้องมาใคร่ครวญกัน อย่างน้อยก็ดังโจทย์ต่อไปนี้

โจทย์ที่  1  ซะกาตฟิฎเราะห์คืออะไร  และใครบ้างที่ต้องจ่าย
            ซะกาตด้านภาษาบ่งชี้ถึง การเจริญเติบโต งอกเงย เพิ่มพูน ขัดเกลาให้สะอาด และความประเสริฐ
                                                                                                                                                                            
            ส่วนคำว่า ฟิฏรฺ หรือฟิฏเราะฮฺ ด้านภาษาหมายถึง การเปิดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือทำให้แตกและแยกออก                                                                     

ซะกาตฟิฏเราะฮฺ หมายถึง การบริจาคทานที่ถูกกำหนดให้มุสลิมทุกคนต้องจ่าย เนื่องจากการสิ้นสุดของการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน เพื่อเป็นการขัดเกลาผู้ถือศีลอดให้สะอาดบริสุทธิ์จากความหลงลืมและการพูดที่โสมม


              ในอีกความหมายหนึ่ง ซะกาตฟิฏเราะฮฺ คือซะกาตแห่งตัวตนหรือซะกาตแห่งชีวิต  เพราะมุสลิมทุกคนต้องจ่าย  ทั้งชาย-หญิง  ทั้งเด็กแรกเกิดจนถึงคนแก่เฒ่า  หรือแม้แต่คนสติไม่สมประกอบ

             อาบีฮูรัยเราะห์ ได้กล่าว  ความว่า  ท่านศาสดาได้วายิบ  (บังคับ) ให้จ่ายซะกาตฟิฎเราะห์  ในเดือนรอมฎอนทั้งในหมู่ผู้เป็นไท เป็นทาส ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง  เด็กแรกเกิด คนแก่ คนรวยและคนจน ในบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย( อะห์มัด, บุคอรี และมุสลิม )

            ผู้ปกครอง/ คนที่อยู่ภายใต้การดูแลของเขา เป็นคนจ่าย  

           ท่านศาสดากล่าวว่า  จงจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ จากทุกคนที่เป็นผู้รับผิดชอบของท่านทั้งหลาย (บัยฮากี)

โจทย์ที่  2  ลูกบุญธรรม เด็กกำพร้า  ลูกเลี้ยง  ใครจ่ายให้  ?

              เป็นภาระและความรับผิดชอบของผู้ปกครอง / ผู้ดูแล ในที่นี้ก็หมายถึงญาติทางสายเลือด  หรือผู้รับผิดชอบโดยตรงต่อเด็ก ๆ  เหล่านั้น  ซึ่งก็คือ พ่อ ปู ลุง .

             กรณีลูกบุญธรรมที่ไม่พบญาติทางสายเลือด  ผู้รับผิดชอบในการเลี้ยงดู ซึ่งก็คือพ่อบุญธรรมที่จะต้องจ่ายให้

            กรณีเด็กกำพร้า  ถ้าไม่มีหรือไม่พบญาติทางสายเลือด  ผู้ดูแลก็ต้องรับภาระในการจ่ายให้  เช่น เดียวกับกรณีลูกเลี้ยง ถ้าไม่ปรากฏญาติทางสายเลือด พ่อเลี้ยงก็ต้องรับภาระในการจ่ายให้

               กรณีเด็กสามารถหารายได้ ได้ด้วยตัวเอง ก็ควรส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกในการจ่าย  แต่ภาระที่แท้จริงก็ยังเป็นของผู้ปกครอง  หรือผู้เป็นญาติเหนือขึ้นไปทางสายเลือด

โจทย์ที่ 3  ลูกสาวที่ทำงานมีรายได้ของตนเองยังคงเป็นภาระของผู้ปกครองหรือไม่  ?

               คนที่สามารถทำงานหาเงินได้ด้วยตัวเองไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย  เขาก็ควรจ่ายซะกาตเอง  และสามารถจ่ายซะกาตเพื่อพ่อแม่ได้ด้วย  ทั้งนี้ก็ต้องบอกให้พ่อแม่ได้รู้ด้วย

โจทย์ที่  4  ต้องจ่ายซะกาตเวลาไหน
              เริ่มต้นรอมฎอนก็สามารถจ่ายซะกาตได้  ดังที่ฮาดิษจากอูมัรที่ได้กล่าวว่า  ท่านศาสดาได้บังคับให้จ่ายซะกาตในเดือนรอมฎอน

               อย่างไรก็ตามก็มีข้อขัดแย้งทางความคิดของเหล่าผู้รู้ที่เกี่ยวกับเวลาที่วาญิบ อีหม่ามซาฟิอี  และ อีหม่ามมาลิก  เห็นว่า  เวลาที่ต้องจ่ายก็คือ  เวลาแสงอาทิตย์สุดท้ายของเดือนรอมฎอนได้สิ้นสุดลง  ในขณะที่อีหม่ามฮานีฟะห์ เห็นว่า  บังคับให้ต้องจ่ายหลังจากที่แสงแรกของเดือนเซาวาลได้ออกมา
   
               แต่เพื่อง่ายในการปฏิบัติ  นักการศาสนาส่วนหนึ่งได้แบ่งเวลาดังนี้
1.         สามารถจ่ายได้ทันทีหลังเข้าสู่รอมฎอน
2.         เวลาที่ดีที่สุดก็คือก่อนละหมาดอีดิลฟิฎรี
            3.  ไม่อนุญาตให้จ่ายซะกาตฟิฎเราะห์หลังจากเลยเวลาที่ถูกกำหนดไว้ หรือหลังจากละหมาดอีดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ผู้ใดจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ หลังละหมาดอีด จะถือว่าซะกาตที่ได้จ่ายไปนั้นเป็นซะกาตทั่วๆไป ไม่ใช่ซะกาตฟิฏเราะฮฺ                                                             
                             
โจทย์ที่  5  ถ้าลืมจ่ายล่ะจะต้องทำไง  ?
             การจ่ายซะกาตเป็นภาระสำคัญของมุสลิม  ในการรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งไม่ควรที่จะลืม  ผู้ที่ลืมมักจะเกิดจากการถ่วงเวลารอจ่ายในช่วงท้าย ๆ  ซึ่งก็มีผู้บอกว่าเป็นช่วงที่ดีที่สุด  ได้บุญมากที่สุด  ผมเห็นว่าการได้บุญ จะมากหรือน้อยเป็นเรื่องของอัลเลาะห์  ส่วนที่เป็นเรื่องของเราก็คือต้องจ่ายตามช่วง เวลาที่กำหนด

               คนที่ลืมเมื่อนึกขึ้นได้ก็ต้องรีบหาคนที่มีสิทธิรับและจ่ายให้ทันที  พร้อมทั้งขอเตาบัต  (ขอลุแก่โทษ ) พร้อมตั้งจิตให้มั่นว่าจะไม่ลงลืมกับภาระเช่นนี้อีก

โจทย์ที่  6  ถือศีลอดไม่ขาดแต่ไม่ยอมจ่ายซะกาต

               การถือศีลอดเป็นสิ่งที่ต้องทำ  (วาญิบ)  การจ่ายซะกาตเป็นสิ่งที่ต้องจ่ายเช่นกัน การละเลยสิ่งใดสิ่งหนึ่งถือเป็นบาป

               อิบนูอูมัรได้กล่าวว่า  ท่านศาสดาได้สั่งให้เราจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ก่อนที่ผู้คนจะออกมาละหมาด อีดิลฟิฎรี  (บูคอรีและมุสลิม)

               เหล่าผู้รู้ได้ให้ความเห็นว่าคนที่ตั้งใจไม่จ่าย   และไม่ถือเป็นวาญิบสำหรับตนเองเขาอาจจะตกอยู่ในฐานะกูฟูร / สิ้นสภาพ

โจทย์ที่    7     คนยากจนต้องจ่ายซะกาตด้วยหรือ  ?

              ซะกาตฟิฏเราะฮฺ ถูกบังคับสำหรับมุสลิมทุกคนไม่ว่าเขาจะอยู่ในฐานะใด  ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าเขาต้องมีอาหารเพียงพอในการรับประทานนับจากคืนอีด  (1 เชาวัล)  จนถึงสิ้นวันอีด   คนที่อยู่นอกเงื่อนไขนี้จะต้องจ่ายทุกคน

               แต่ก็มีบางทัศนะเห็นว่าคนยากจนที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ก็ด้วยเงินซะกาต  เขาไม่ต้องรับภาระในการจ่ายอีก  เพราะเงินที่เขามีก็เงินซะกาตนั้นเอง

โจทย์ที่  8  จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ด้วยเงินหรือด้วยข้าวสาร ?
               แต่เดิมซะกาตฟิฏเราะฮฺ คือการจ่ายด้วยอาหารหลัก  แต่ก็มีทัศนะบอกว่าจ่ายแทนด้วยเงินก็ได้  การจ่ายด้วยเงินก็เป็นการตัดสินใจของอูมัร อับดุลอาซิซ  ท่านได้บอกว่าการจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ สามารถทดแทนได้ด้วยสิ่งมีค่า  (เงิน)  ทุกวันนี้เงินถูกใช้เพื่อชำระหนี้ /เพื่อการแลกเปลี่ยน  อาหาร/ สิ่งของ  เงินจึงถือว่าสมควร

อย่างไรก็ตาม อุละมาอ์ส่วนใหญ่ (มัซฮับมาลิกีย์ ชาฟิอีย์ และฮัมบาลีย์)    ไม่อนุญาตให้จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ด้วยเงินแทนอาหาร และผู้ใดจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ด้วยเงิน ซะกาตฟิฏเราะฮฺ ของเขาจะไม่ถูกรับ เพราะไม่มีหลักฐานบ่งชี้ถึงการอนุญาต  
            ส่วนมัซฮับหะนะฟีย์ มีทัศนะว่าอนุญาตให้จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ด้วยเงิน

โจมย์ที่   9  ถ้าไม่จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ผลบุญจากการถือศีลอดถูกแขวน ?

               ท่านศาสดาได้กล่าวว่า  ศาสนกิจในเดือนรอมฎอน ถูกผูกไว้ระหว่างชั้นดินกับแผ่นฟ้า  และจะไม่ถูกนำไปสู่อัลเลาะห์  เว้นเสียแต่ด้วยซะกาตฟิฏเราะฮฺ ( อิบนูอาซากีร)

               แต่เหล่านักฮาดิษได้แสดงความกังขาต่อความถูกต้องของฮาดิษนี้  และแย้งกับฮาดิษอื่นที่ได้กำหนดอีบาดะห์เฉพาะต่าง    สำหรับเดือนรอมฎอน ผมเห็นว่าอีบาดะห์อะไรก็แล้วแต่เมื่อได้ถูกกระทำอย่างสมบูรณ์และครบถ้วน   ก็เป็นสิทธิของอัลเลาะห์ที่จะตอบรับหรือไม่  ?

โจทย์ที่   10  ซะกาตฟิฏเราะฮฺ ต้องจ่ายให้คนยากจนเท่านั้นหรือ
               เป็นความแตกต่างทางความคิด    (คิลาฟ)  บ้างก็เห็นว่าเฉพาะสำหรับคนยากจนคนอนาถา  (ฟากิร /มิสกิน ) แต่อีกส่วนก็เห็นว่าผู้มีสิทธิรับซะกาตทั้งแปดประเภทก็มีสิทธิรับซะกาตฟิฏเราะฮฺ เช่นกัน

               นอกจากนี้ก็ยังมีความเห็นว่า  สามารถจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ให้กับคนต่างศาสนิกก็ได้  (ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอิสลาม)  ในกรณีที่คนต่างศาสนิกนั้นมีฐานะยากจน

โจทย์ที่  11   จ่ายซะกาตฟิตเราะห์แทนที่ลูกจ้างที่ทำงานในบ้านเราได้หรือไม่

               ลูกจ้างไม่ใช่ภาระโดยตรงที่ต้องรับผิดชอบในการเลี้ยงดู  ลูกจ้างคือคนทำงานที่ได้ค่าจ้าง  ลูกจ้างต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ของตนเอง

              แต่ถ้านายจ้างประสงค์ที่จะจ่ายให้ก็ไม่ผิดแต่เพียงต้องบอกให้ทราบ  และต้องได้รับอนุญาตด้วย  เพราะไม่ใช่สิทธิของนายจ้างโดยตรง

โจทย์ที่  12    ลูกที่เกิดในคืนอีดิลฟิฎรีต้องจ่ายไหม่
              ไม่ต้องเพราะวันอีดหรือกลางคืนถือว่าสิ้นสุดรอมฎอนแล้ว

โจทย์ที่  13  หญิงตั้งท้องที่ครบกำหนดคลอดแล้ว แต่ยังไม่คลอดจนล่วงเลยวันที่  1  เชาวัล
               ในหนังสือ  ฮูกุมซะกาตของ    ดร. ยุชุฟ  ฎอร์ฎอวีย์  สรุปว่าไม่ต้องจ่ายเพระอิสลามไม่ได้สร้างภาระใดต่อลูกที่ยังอยู่ในท้องของมารดา

โจทย์ที่  14  ซะกาตฟิตเราะห์กับซะกาตทรัพย์สินจ่ายในช่วงเวลาเดียวกัน
                   ไม่ผิดใดๆ  หากแต่เป็นสิ่งที่ส่งเสริมควรกระทำอย่างยิ่ง  มีอาดิษรายงานจาก  อิบนู คูชัยมะห์  จากชัลมาล อัลฟารีชี ระบุว่า  ทุกอามัลทุกชนิดในเดือนรอมฎอน  จะได้รับผลตอบแทนถึง  70  เท่า


โจทย์ที่  15  ทำไหมบางคนต้องจ่ายซะกาตไม่เหมือนหรือไม่เท่ากับคนอื่น ๆ
               คนที่ใส่ใจและระมัดระวังในการประกอบภารกิจทางศาสนา  เขาจะคำนึงถึงความถูกต้องเป็นหลัก   ราคาข้าวสารแต่ละที่  หรือที่แต่ละคนได้บริโภคอาจต่างกัน  คนที่คำนึงถึงความถูกต้องที่สุด ย่อมคิดอย่างรอบคอบก่อนที่จะจ่ายไปจ่ายเท่าใด หรือจ่ายให้ใคร


Tuesday, June 28, 2016

มุสลิมในเรียลลิตี้โชว์ของเกาหลี

ในการบันทึกภาพการแสดงเรียลลิตี้โชว์รายการหนึ่งของเกาหลีใต้ โดยมีผู้ร่วมแสดงคนหนึ่งเป็นมุสลิม มีชื่อว่าอุสมาน

ทางผู้จัดรายการรวมทั้งดารานักแสดงชื่อดังของเกาหลีท่านหนึ่ง ได้ให้เกียรติต่ออุสมาน อย่างสูงมาก

และอุสมาน ก็ให้ความสำคัญต่อหลักปฎิบัติทางศาสนาอย่างเคร่งครัดอีกเช่นกัน ในเดือนรอมฎอนที่อุสมาน ต้องถือศีลอด แถมเวลาอดยังยาวนานกว่าบ้านเรา แต่อุสมาน ก็ถือปฎิบัตอย่างเคร่งครัด

ในการบันทึกรายการ เวลาทุกนาทีของการถ่ายทำล้วนถูกกำหนดเป็นค่า หรือถูกตีราคาโดยนักแสดงทั้งนั้น แต่ถึงกระนั้น เพื่ออุสมาน ได้ปฎิบัตในหลักการศาสนาอย่างเคร่งครัด แม้ในชั่วโมงเร่งรีบ แม้ในท้องถนนที่รถราพลุกพล่าน ผู้จัดก็ยังช่วยหาที่ละหมาดให้อุสมาน ดูวีดีโอ

Friday, June 17, 2016

บทเรียนใจหญิง


ฉันฝึกฝนในการทำกับข้าวให้ได้ดีที่สุด ไม่ไช่เพื่อตัวคุณ หากแต่เพื่อแม่ของคุณ เพื่อที่ท่านจะได้รู้ว่า ลูกชายท่าน จะได้รับการใส่ใจด้านการกินอยู่อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง. ให้ท่านได้รู้ว่า คุณอยู่กับฉัน  คุณก็จะได้รับความใส่ใจ เฉกเช่นเดียวกับที่แม่ของคุณดูแลคุณ.

คุณทำงานหนัก อย่าคิดว่าทำไปเพราะฉัน แต่ให้คุณแสดงให้พ่อของฉันได้เห็นว่า คุณเป็นชายที่มีความรับผิดชอบ เป็นผู้ชายที่เหมาะสมที่สุดแล้ว ที่ได้ตัดสินใจยอมมอบลูกสาวให้ดูแล

Cr : ภาพและข้อความ Eka Pramata

Sunday, June 12, 2016

ตารอแวะห์เร็วที่สุดในโลก


ยังคงเป็นข่าวต่อเนื่องมานับศตวรรษ และเชื่อว่าจะยังคงเป็นข่าวอีกนาน กับตารอแวะห์สุดรวดเร็ว

จำนวน 20 รอกาอัตกับอีก 3 วีตีร ด้วยเวลาราว 7 - 10 นาที เกิดเป็นข่าวอีกครั้ง เกิดขึ้นที่มัสยิดในปอเนาะมันบาอุลฮิกัม ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่บ้านมันตือนัน ตำบลอูดานาวู  อำเภอบลีตาร์ จังหวัดชวาตะวันออก

ถือเป็นการละหมาดตารอแวะห์ในลักษณะที่สุดรวดเร็วที่ถูกปฎิบัตต่อเนื่องเรื่อยมาเป็นร้อยปีมาแล้ว

โดยแต่ละคืนจะมีคนทั้งจากในและนอกพื้นที่มาร่วมละหมาดหลายร้อยคน ด้วยเหตุผลช่วยประหยัดเวลา

นักข่าวได้ไปสัมพากษณ์นายดลียาอุดดีน อัซซัมซามี เขาบอกว่า. "สิ่งนี้เป็นวัฒนธรรมของเรา ที่ได้ปฎิบัตสืบเนื่องเรื่อยมา มากกว่า 100 ปีแล้ว"

"จุดเริ่มต้นมาจากชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ยอมละหมาดตารอแวะห์ เพราะใช้เวลานาน อีกทั้งชีวิตประจำวันก็เหน็ดเหนื่อยจาการทำงานมามากแล้ว และด้วยวิธีการละหมาดเช่นนี้ ทำให้ชาวบ้านมาร่วมละหมาดได้" โต๊ะครูดลียาอุดดีน กล่าว

ปอเนาะนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1901 โดยอูลามาอท่านหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อว่าอับดุลฆอฟูร โดยดลียาอุดดีน ถือเป็นทายาทรุ่นที่ 4

ถือเป็นปอเนาะที่ใหญ่สุดในอำเภอบลีตาร์ ปัจจุบันมีนักศึกษาทั้งชายและหญิงเรียนอยู่กว่า 1,000 คน

ที่มา : detik.com

Monday, June 06, 2016

เสียงกุรอานสุดไพเราะ



อีหม่ามนำละหมาด ท่านนี้ชื่อมูซซามิล ฮัซบัลเลาะห์  นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ณ มัสยิดซัลมาน ในสถาบันเทคโนโลยี่บันดุง (ITB)

Wednesday, June 01, 2016

ข้อคิดสำหรับคุณแม่บ้าน


เสียงปรบมือดังสนั่นก้องกังวาลในห้องประชุม หลังจากพิธีกรประกาศรายชื่อ บุคคลผู้หนึ่ง ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ก่อคุณูปการอย่างยิ่งใหญ่ ต่อองค์กร. 

เขาเดินขึ้นรับเหรียญรางวัล จากบุคคลสำคัญ ต่อหน้าแขกนับพัน และแล้วเสียงปรบมือก็ดังกึกก้องอีกครั้งหนึ่ง ...

ทั้งหมดเหล่านี้เป็นสิ่งเล็กน้อยมากสำหรับเขา ถ้าเทียบกับเสียงภรรยาที่บ้าน กับคำว่า 

บ้านเรา เคยมีเสียงเหล่านี้บ้างไหม ?





......
ภาพประกอบจากที่ประชุมใหญ่มูฮัมมาดียะห์ ที่มากัซซาร์ (สุลาเวสี สลาตัน) ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับเนื้อหา

Friday, May 27, 2016

ฉันไม่สวยหรือ





เย็นวันหนึ่ง หลังเลิกงาน จากสำนักงานในตึกสูงแห่งหนึ่ง

หญิงสาวชาวอเมริกันออกอาการหวาดกลัวอย่างเห็นได้ชัด เมื่อแต่ละคนต่างออกจากลิฟต์ คงเหลือแต่เธอกับชายชาวมอรอคโค เพียงสองคน เธอต้องลงลิฟต์ไปยังชั้นล่างสุด  เธอกลัวเขาจะทำมิดีมิร้ายกับเธอ อีกทั้งข่าวร้ายๆ ที่เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศมีให้ได้ยินมาโดยตลอด

แต่แล้วเธอก็เบาใจลงเมื่อลิฟต์พาลงมาเกือบถึงชั้นที่เธอจะออกไปแล้ว เธอชำเลืองตาไปยังชายหนุ่ม เห็นเขาก้มหน้านิ่ง ไม่มองเธอเลย 

และก่อนออกจากลิฟต์หญิงสาวผู้นั้นก็หันไปถามชายมอรอคโคว่า “ฉันไม่สวยหรือ”

ชายหนุ่มผู้นั้นตอบกลับไปว่า  “ผมจะรู้ได้ไงว่าเธอสวยหรือไม่สวย  เมื่อผมไม่ได้มองหน้าเธอเลย”
เขาตอบ โดยที่ยังก้มหน้าตามเดิม ไม่ยอมมองหน้าหญิงนั้น

“คุณมองยอมมองฉันเลย ฉันไม่สวยละซิ” หญิงสาวถามย้ำ

เขาตอบไปว่า  “ไม่หรอก ในทางศาสนาที่ฉันนับถือมองเธอไม่ได้ครับ”

“ฉันนึกว่าคุณจะรังแกฉัน ฉันกลัวคุณมากเลย” หญิงสาวสารภาพ

ชายหนุ่มตอบกลับว่า  “ผมกลัวอัลเลาะห์”

“เมื่อศาสนาคุณไม่อนุญาตให้มองหญิงอื่น  นั้นก็หมายความว่า ห้ามไม่ให้แตะต้องด้วยไช่ไหม” หญิงสาวตั้งคำถาม

“ไช่ครับ อิสลามให้ผู้นับถือมีกริยามารยาทที่ดี ห้ามพฤติกรรมใดๆ ที่ไม่เหมาะสม แน่นอนว่าการรังแกใครก็ทำไม่ได้”  เขาตอบ

หญิงสาวคิดในใจ เธอรู้สึกโชคดีมากที่ได้รู้จักกับผู้ชายเช่นนี้ นี่แหละชายที่ฉันตามหา ชายที่มีจิตใจดี ทีมารยาทงดงาม ยึดมั่นในคำสอนทางศาสนา แน่นอนว่าผู้ชายเช่นนี้ ย่อมมีความซื่อสัตย์

เธอรวบรวมความกล้า พูดกับเขาอย่างเปิดอกว่า “คุณแต่งงานกับฉันไหม”

แน่นอนว่าการที่จะให้ผู้หญิงเอยปากขอผู้ชายแต่งงานนั้น  คงเกิดขึ้นได้ยาก ยิ่งกับชาวเอเชีย  แต่เธอชาวอเมริกา ไม่ละอายที่จะพูดเช่นนั้น โดยไม่กังวลว่าจะถูกอีกฝ่ายหนึ่งปฏิเสธ ถ้าเขาตอบรับก็ดี  หรือหากไม่ก็ไม่ได้เสียหายอะไร

การถูกปฏิเสธไม่มีผลทำให้เราเสียหายหรือดูด้อยค่า

ฝ่ายชายตอบกลับไปว่า  “ผมเป็นมุสลิม และคุณล่ะนับถือศาสนาอะไร”

หญิงสาวตอบไปทันทีว่า  “ฉันไม่ไช่มุสลีมะห์”

“ถ้าเช่นนั้น เราแต่งงานไม่ได้หรอก” ชายหนุ่มตอบไปอย่างตรงไปตรงมา

“แล้วถ้าฉันเข้าศาสนาตามคุณ คุณจะยอมแต่งงานไหม   

“ตกลงครับ อินชาอัลเลาะห์”  ชายหนุ่มตอบไป

เวลาผ่านไป สาวสวยคนนี้ ได้ศึกษาในหลักการอิสลามจนเข้าใจอย่างถ่องแท้ จนมาเป็นมูอัลลัฟ แล้วแต่งงานกับชายหนุ่มคนนั้นตามที่ตกลง

หลังแต่งงานได้ไม่นาน หญิงสาวก็เปิดเผยถึงสถานะตนเอง  เธอเป็นผู้รับมรดกมหาศาลจากตระกูล เธอเป็นคนรวย 
และยังภักดีต่อสามี เสมือนหนึ่งหญิงสาวซอลีฮะห์พึงปฎิบัติ

ชายหนุ่มผู้ดูแลสายตาตนเอง รักษากริยามารยาท เฉกเช่นผู้ซอลิห์  ละจากทุกอย่างอันอาจจะนำมาซึ่งฟิตนะห์ บัดนี้อัลเลาะห์ได้ตอบแทนเขาแล้ว...


Motivation of Life.

Tuesday, May 24, 2016

คู่เรา




คำแนะนำ 13 ข้อต่อการมองชีวิตคู่

1.   เมื่อมองหาคู่
อย่าคิดหาคนที่จะมาเป็นภรรยา แต่ให้มองหาคนที่เป็นแม่เพื่อลูกของเรา และเช่นกัน  อย่าคิดหาสามี แต่ขอคนที่จะมาเป็นพ่อให้ลูก

2. ขั้นการสู่ขอ
อย่าคิดว่าคุณกำลังขอจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองของเธอ แต่ขอจากอัลลอฮฺเพียงแต่ผ่านพ่อแม่ของเธอ

3. เมื่อถึงขั้นนิกาห์
ทั้งสองคนไม่ได้นิกาห์ต่อหน้าอีหม่าม & วาลี แต่การแต่งงานด้วยสำนึกว่าเราอยู่หน้า พระเจ้า สนองต่อความประสงค์ของพระองค์ โดยมีมาลาอีกะห์ ร่วมเป็นสักขีพยาน

4. เมื่อการจัดเลี้ยง
คำนวณถึงแขกที่มา บันทึกไว้ และตระหนักเสมอว่า ทุกคนที่มาคือคนที่ให้ความสำคัญกับเรา เขาไม่ได้มาตัวเปล่า สิ่งที่มีค่าที่สุดจากเขาที่ให้เราคือ การดุอาอ และคำอวยพร ตระหนักเสมอว่า ยามใด คิดจะเลิกลากันไป แสดงว่าคุณได้ละเลยต่อคำอวยพรของเขาแล้ว พวกเขาล้วนให้ความสำคัญต่อคุณ  เหตุไฉนคุณถึงละเลยจากอวยพรของเขา. ฉนั้นกรุณายุติความคิดเช่นนั้นเสีย

5. เมื่อคืนแรก
อดทนอย่ารีบร้อนตระหนักเสมอว่าทั้งสองฝ่ายก็คือลูกหลานมนุษย์ด้วยกัน หาไช่บุตรของมาลาอีกะห์ หรือผู้วิเศษที่ไหน

6. เมื่อการดำรงชีวิตครอบครัว
เส้นทางชีวิตจากนี้ หาได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หรืออยู่ในดงดอกไม้นานาพันธ์แต่อย่าใด หากแต่ต้องเผชิญกับอีกสารพัดอุปสรรคและขวากหนาม จงก้าวเดินต่อไปข้างหน้า อย่าได้พลัดพรากจากกัน.


7. เมื่อประสบกับปัญหาและความยุ่งเหยิง
จงจับมือสอดประสานกันให้แน่น อย่าให้หลุดไปเป็นอันขาด


8. เมื่อยังไม่ได้ลูก
อย่ารวนเร รักที่มีต้องมั่นคง อย่าหันเห ผูกพันด้วยใจมั่น  100 %


9. เมื่อได้ลูกแล้ว
ต้องรักภรรยาของคุณ/รักสามีคุณ 100 % และใน  100 % ของทั้งสอง ผสานร่วมมือกันเป็นอีก 100 % สำหรับลูก

10. เมื่อเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ
จงเชื่อมั่นเถิด ด้วยความจริงใจของคนในครอบครัว และความไว้วางใจกัน จะเป็นประตูที่เปิดกว้างสำหรับปัจจัยยังชีพ

11. เมื่อยามเศรษฐกิจและการเงินมั่งคั่ง
อย่าลืมช่วงชีวิตที่ผ่านมา ที่ได้ร่วมกันเผชิญทั้งร้อนทั้งหนาวอย่างไม่หวาดหวั่น

12. เมื่อคุณอยู่ในฐานะสามี
คุณสามารถแสดงออกถึงการออดอ้อนต่อภรรยา  แต่อย่าลืม จงลุกขึ้นทันทีเมื่อใดก็ตาม ที่ภารกิจ เบื้องหน้า ในความรับผิดชอบต่อผู้เป็นภรรยาเมื่อเธอประสงค์ใดๆ จากคุณ

13. เมื่อคุณเป็นภรรยา
ร่วมเดินหน้าฟันฝ่าชีวิตกับเขาได้ในทุกสถานการณ์ ใบหน้าที่ยิ้มแย้ม กับบุคลิกภาพที่อ่อนโยน แต่มี ใจที่เข้มแข็งและมั่นคง เป็นพลังหนุนเสริมต่อเขาได้ทุกเวลา.

Wednesday, May 18, 2016

คำแม่ในวันส่งเข้าห้องหอ

คำสั่งเสียของแม่ในโอกาสการแต่งงานของลูกสาว


วันนี้เจ้าต้องจากไปจากสถานเดิมๆ เข้าสู่ช่วงเวลาแห่งชีวิตใหม่ ในบทบาทและหน้าที่ใหม่ ๆ  กับคนอื่น  ที่เขาไม่ได้รู้เรื่องทั้งหมดของเรา  และเราก็ไช่ว่าจะเข้าใจเขาได้ทุกเรื่อง

เจ้าอย่าลืม 13 ข้อต่อไปนี้
1.ร่วมชีวิตกับสามีเจ้าด้วยความตระหนักในหลักแห่งความพอเพียง ความพอมีและพอดี

2.จงเชื่อฟังและซื่อสัตย์ต่อสามี

3.จงดูแลจมูก ด้วยการระวังกับกลิ่นอันไม่พีงประสงค์ น้ำหอมคือสิ่งที่ต้องมีใช้เป็นประจำ

4.คำนึงถึงสายตาเขา เมื่อใดที่เขาได้มองเราแล้วก่อเกิดความรู้สึกอิ่มใจ การแต่งตัวในบ้านเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

5.อย่าลืมเวลากิน การกินไม่พอก่อให้เกิดอารมณ์ที่ขุ่นมัว

6.ใส่ใจเวลานอน การนอนไม่เต็มที่ เป็นบ่อเกิดแห่งอารมณ์และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

7.ต้องเคารพและให้เกียรติครอบครัวเขา

8.ร่วมดูแลทรัพย์สมบัติเขา  การรู้จักหวงแหนทรัพย์สมบัติเขา  แน่นอนว่าเขาจะหวงแหนเรา

9.อย่าแพร่งพรายความลับใดๆ ชองเขา การรู้จักให้เกียรติในตัวตนของเขา  เขาก็จะให้เกียรติเรา

10.อย่าละเลยในคำร้องขอของเขา เพราะการละเลยก่อให้เกิดความขุ่นเคืองใจ

11.อย่าสุขในช่วงเวลาที่เขาเศร้า  เพราะจะถูกมองว่าไม่ใส่ใจกัน

12.อย่าไปแสดงอาการเศร้าในขณะที่เขามีความสุข เพราะจะถูกมองว่าไปขัดขวางวิถีที่ดีงามของเขา

13.พยายามแสดงออกให้บ่อยๆ ถึงความรัก ความเคารพ ความใส่ใจ มุ่งมั่นดูแลกันตราบวันสิ้นสลาย.

Monday, May 09, 2016

การแต่งงานสุดประหยัด


จุดเริ่มต้นในการนำมาซึ่งการเป็นคู่ชีวิตต้อง ...

อย่าเริ่มที่ทรัพย์สิน 

อย่าแสดงความยิ่งใหญ่ของงานเพื่อให้คนมายกย่อง

อย่าทำพิธีให้หรูหรา จนอาจจะเป็นหนี้ที่รุงรัง

อย่าสร้างความยุ่งยากจนกลายมาเป็นอุปสรรค

การกำหนดค่าใช้จ่ายที่สูง ด้วยค่านิยมเกทับ คนข้างบ้าน ไม่มีหลักประกันอะไรเลยว่าชีวิตคู่จะยั่งยืน

พบข่าวการแต่งงานสุดประหยัดในประเทศเพื่อนบ้าน

ฝ่ายชายมีชื่อว่ามูฮัมมัด ฟาดิล ฝ่ายเจ้าสาวมีนามว่าสีตีนูรอัสลีน ซาลีม

ฝ่ายชายบอกว่าการแต่งงานของตนเองมีค่าใช้จ่ายรวมแล้วราว 2 ล้านรูเปียห์อินโด หรือประมาณ 7,000 กว่าบาท (1000 rp ประมาณ 280 บาท)

โดยแยกเป็นค่าสำหรับมะฮัร 3 แสนรูเปียห์ (ราว 1,071 บาท)

เงินมอบให้เจ้าหน้าที่  7 แสนรูเปียห์ (ราว 2,500 บาท)

และอีก 1 ล้านรูเปียห์ ใช้สำหรับเลี้ยงแขกและเพื่อนใกล้ชิด




ทั้งคู่ไม่ไช่ไม่ไช่คนยากจน หากแต่เข้าข่ายผู้มีฐานะ แต่ที่ใช้อย่างประหยัด ด้วยความเชื่อว่า การมีบัรกัต (ความจำเริญ) ในชีวิตคู่ ไม่ไช่อยู่ที่สินสอดจำนวนมาก ไม่ได้อยู่ที่การจัดงานใหญ่โตแต่อย่างใด

เงินที่มีทั้งคู่เลือกที่จะนำมาใช้เพื่อเริ่มต้นชีวิตครอบครัว ดีกว่านำมาใช้ในวันแต่งงานแค่วันเดียว

ร่วมดุอาอ ให้ชีวิตคู่มีบัรกัต มีลูกหลานร่วมสืบสานเจตนารมย์ บรมศาสดา

Daud Abdulrahman

แหล่งข่าวอ้างอิง. : www.cerminan.com/